วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

สาระการเรียนรู้ วิชา ภาษาไทย

หน่วยที่ 5
การเขียนจดหมายธุรกิจ
สาระการเรียนรู้
     1 ความสำคัญของจดหมายธุรกิจ
     2 การใช้ภาษาในจดหมายธุรกิจ
     3 รูปแบบของจดหมายธุรกิจ
     4 การเขียนจดหมายธุรกิจประเภทต่างๆ
ความสำคัญของจดหมายธุรกิจ
     1 สะดวกเพราะไม่ต้องเสียวลาเดินทางไปด้วยตนเอง
     2 ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
     3 สามารถติดต่อกับบุคคลที่ไม่รู้จักได้ เช่น การเขียนจดหมายโฆษนาสินค้า
     4 สามารถเขียนรายละเอียดได้ชัดเจนและสมบรูณ์กว่าการพูด
     5 เก็บเป็นหลักฐานได้ และใช้อ้างอิงได้แม้เวลาจะผ่านไปนานเพียงใด
การใช้ภาษาในจดหมายธุรกิจ
     1 กะทัดรัด คือ การใช้คำน้อยแต่ได้ใจความครอบคลุมเรื่องราวทั้งหมด ใช้คำและประโยคที่กะทัดรัดได้ใจความ
     2 ชัดเจน คือ ต้องแสดงความคิดเห็นหรือความต้องการอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้รับสามารถเข้าใจและปฏิบัติตามได้ถูกต้อง ไม่เกิดความสับสนและไม่ต้องตีความหลายทาง
     3 ถูกต้อง คือ การเลือกใช้คำ การสะกดคำ การเรียงคำ และการใช้ประโยค
     4 ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ไทย หลีกเลี่ยงสำนวนต่างปประเทศ
     5 สุภาพ คือ การใช้ถ้อยคำที่แสดงความสุภาพ เพื่อสร้างความประทับใจที่ดีในการติดต่อ เช่น คำว่า ขอบคุณ ขออภัย ยินดี
     6 ประณีต คือ ใช้ภาษาอย่างประณีต เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
     7 คำนึ่งถึงผู้อ่าน คือ เขียนโดยคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อ่านเป็นสำคัญ
การเขียนจดหมายธุรกิจประเภทต่างๆ
     1 จดหมายสมัครงาน
     2 จดหมายเปิดเครดิต
     3 จดหมายเสนอขายสินค้าและบริการ
     4 จดหมายสอบถาม
     5 จดหมายสั่งซื้อ
     6 จดหมายต่อว่าและปรับความเข้าใจ
     7 จดหมายทวงหนี้และเตือนหนี้
     8 จดหมายไมตรีจิต
1 จดหมายสมัครงาน
ความมุ่งหมายของจดหมายสมัครงาน คือ เพื่อ ทำให้เจ้าของงานให้โอกาสผู้เขียนจดหมายเข้ารับสัมภาษณ์ การเขียนจดหมายสมัครงานเป็นวิธีหนึ่งที่หน่วยงานจะสามารถกลั่นกรองข้อมูลของผู้รับสมัครงานก่อนจะเรียกมาสัมภาษณ์ ในการเขียนจดหมายสมัครงานแม้อ้างถึงข้อมูลในประวัติส่วนตัว
ส่วนประกอบของจดหมายสมัครงาน อาจแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
     1 คำนำ
     2 เนื้อหา
     3 สรุป
2 จดหมายขอเปิดเครดิต
จดหมายเครดิต คือ จดหมายที่ลูกค้าต้องการจะติดต่อเรื่องการค้าด้วยบัญชีเงินเชื่อ ซึ่งลูกค้าที่ขอเปิดเครดิตต้องแสดงราบระเอียดส่วนตัวและกิจการของตนพร้อมระบุชื่อบุคคลที่จะให้ราบระเอียดเกี่ยวกับฐานการเงินของตนต่อบริษัทห้งร้านที่จะขอเปิดบัญชีเงินเชื่อได้
หลักสำคัญในการเขียนจดหมายขอเปิดเครดิต
     1 ระบุรายละเอียดต่างๆ
     2 ระบุชื่อและที่อยู่ของผู้รับร้องให้จัดเจน
     3 ระบุสัญญาหรือระเบียบที่จะปฏิบัติเมื่อได้รับเครดิตแล้ว
องค์ประกอบของจดหมายขอเปิดเครดิต
     1 ส่วนนำ
     2 ส่วนเนื้อหา
    3 ส่วนท้าย
3 จดหมายเสนอขายสินค้าและบริการ
จดหมายเสนอขายสินค้าและบริการ คือ จดหมายที่บริษัทห้างร้านต่างๆซึ่งเป็นผู้ผลิตหรือจำหน่าย มีไปถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคที่คิดว่าจะสนใจสินค้าและบริการของบริษัท เพื่อเผยแพร่หรือบอกข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สินค้า
องค์ประกอบของจดหมายเสนอขายสินค้าและบริการ
     1 ส่วนนำ
     2 ส่วนเนื้อหา
     3 ส่วนท้าย
การเขียนจดหมายเสนอขายสินค้าหรือบริการที่ดี มีลักษณะดังนี้ 
     1 เรียกร้องความสนใจจากลูกค้าด้วยเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง
     2 ให้ความกระจ่างของสินค้าหรือบริการที่ต้องการเสนอขาย
     3 พยายามก่อให้เกิดความพอใจ และต้องการสินค้าหรือบริการนั้น
     4 ให้ความหวังว่าจะได้รับใบสั่งซื้อหรือจดหมายสั่งซื้อจากลูกค้า
4 จดหมายสอบถาม
จดหมายสอบถามคือ จดหมายที่ติดต่อระหว่างลูกค้ากับบริษัท ห้างร้าน ที่ต้องการสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า เช่น คุณภาพ ราคา ส่วนลด หรืออาจสอบถามเพิ่มเติมจากข่าวโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ โดยอาจจะให้ทางบริษัทนั้นส่งรายละเอียดหรือแค็ตตาล็อกมา
องค์ประกอบของการเขียนจดหมายสอบถามละตอบสอบถาม
     1 ส่วนนำ
     2 ส่วนเนื้อหา
     3 ส่วนท้าย
5 จดหมายสั่งซื้อ
คือจดหมายที่ลูกค้าหรือผู้ซื้อเขียนสั่งซื้อสินค้าหรือบริการที่ตนต้องการ เมื่อเกิดความพอใจในสินค้านั้น โดยระบุชนิดสินค้าตลอดจนรายละเอียดต่างๆอย่างชัดเจน
องค์ประกอบของจดหมายสั่งซื้อ
     1 ส่วนนำ
    2 ส่วนเนื้อหา
     3 ส่วนท้าย
หลักการเขียนจดหมายสั่งซื้อและรับการสั่งซื้อ
     1 เขียนชื่อที่อยู่ของผู้สั่งซื้อสินค้าให้ชัดเจนเพื่อความสะดวกรวดเร็ว
     2 ระบุชนิดของสินค้า
     3 บอกวิธีชำระเงิน
     4 บอกวิธีการส่งของให้ชัดเจนว่าต้องการส่งทางไปรษณีย์ หรือ บริษัทขนส่ง
     5 ใช้ถ้อยคำในการเขียนให้สุภาพถูกต้องชัดเจน
6 จดหมายต่อว่าและปรับความเข้าใจ
คือ จดหมายที่ลูกค้าเขียนไปยังผู้ขายสินค้าเพื่อว่าหรือร้องเรียนให้ผู้ขายทราบถึงข้อบกพร่อง เช่น สินค้าชำรุด หรือ จดหมายตอบรับข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการส่งสินค้าหรือบริการ
องค์ประกอบของจดหมายต่อว่า
     1 ส่วนนำ
       2 ส่วนเนื้อเรื่อง
       3 ส่วนท้าย
หลักการเขียนจดหมายต่อว่าหรือจดหมายร้องเรียน
     1 ระบุความผิดพลาดให้จัดเจน
     2 ชี้แจงรายละเอียดในการแก้ไขข้อผิดพลาดให้ผู้ขายทราบด้วยถ้อยคำสุภาพ
     3 ควรระบุหรือตำหนิว่าเป็นความผิดของใครโดยเฉพาะ แต่กล่าวด้วยถ้อยคำที่เป็นข้อเท็จจริง
จดหมายปรับความเข้าใจหรือจดหมายตอบรับร้องเรียน
คือ จดหมายที่ผู้ขายเขียนตอบลูกค้าที่แจ้งข้อผิดพลาด ข้อบกพร่องในการส่งสินค้าและปรับความเข้าใจชี้แจงข้อเท็จจริงให้ลูกค้าทราบ
องค์ประกอบของจดหมายปรับความเข้าใจหรือจดหมายตอบรับร้องเรียน
     1 ส่วนนำ
     2 ส่วนเนื้อหา
     3 ส่วนท้าย
7 จดหมายทวงหนี้และเตือนหนี้
คือ จดหมายที่ผู้ขายเขียนไปถึงลูกค้าเพื่อแจ้งหนี้ให้ทราบ หากลูกค้าเพิกเฉยก็อาจจะต้องส่งจดหมายเตือนหนี้ไปอีกครั้ง การเขียนจดหมายทวงหนี้ต้องระมัดระวังคำพูด มิให้เป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามลูกค้าแต่ให้ความหวังว่าลูกค้าจะชำระเงินค่าสินค้าเพื่อเป็นลูกค้าที่ดีต่อกันไป
จดหมายทวงหนี้และเตือนหนี้ อาจแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
1 ขั้นแจ้ง
องค์ประกอบของจดหมายทวงหนี้ขั้นแจ้ง
     1 ส่วนนำ
     2 ส่วนเนื้อหา
     3 ส่วนท้าย
2 ขั้นเตือน
องค์ประกอบของจดหมายทวงหนี้ขั้นเตือน
     1 ส่วนนำ
     2 ส่วนเนื้อหา
     3 ส่วนท้าย
3 ขั้นทวงหนี้
องค์ประกอบของจดหมายทวงหนี้ขั้นทวงหนี้
     1 ส่วนนำ
     2 ส่วนเนื้อหา
     3 ส่วนท้าย
8 จดหมายไมตรีจิต
เป็นจดหมายที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการซื้อขายโดยตรง แต่เขียนขึ้นเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและหน่วยงานให้แน่นแฟ้นขึ้น
จดหมายไมตรีจิตมีหลายประเภทดังนี้
1 จดหมายแสดงความยินดี
2 จดหมายแสดงความเสียใจ
3 จดหมายขอความร่วมมือหรือความช่วยเหลือ
4 จดหมายขอบคุณ
5 จดหมายเชิญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น